ตู้-MDB

ตู้ MDB ( Main Distribution Board )


รับประกอบติดตั้ง ตู้ MDB และตู้ควบคุมไฟฟ้าต่างๆ เน้นคุณภาพ ราคายุติธรรม และมีบริการหลังการขาย โดยทีมช่างมืออาชีพ ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ผลิต ออกแบบ ตู้ MDB ตามสั่ง โดยทีมวิศวกรผู้ชำนาญงาน งานไว ราคายุติธรรม มีบริการหลังการขาย
ตู้ MDB เป็นแผงควบคุมไฟฟ้าเพื่อจ่ายไปยังโหลดไฟต่างๆ รวมถึงการตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่แหล่งจ่ายไฟฟ้า ปริมาตรกำลังการใช้ไฟฟ้า ระบบป้องกัน กระแสไฟฟ้าลัดวงจร สามารถทำการปรับปรุงแก้ไขระบบไฟฟ้า บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า และเพื่อขยายระบบไฟฟ้าในอนาคตได้


ตู้-MDB

ตู้ MDB หรือเรียกอีกอย่างว่า ตู้สวิทช์บอร์ด ชื่อเต็มๆของตู้ MDB คือ Main Distribution Board

ตู้MDB นิยมถูกนำไปใช้งานประเภท โรงงานขนาดกลางไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยส่วนมากจะมุ่งเน้นไปยังโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้งานของกระแสไฟฟ้าจำนวนมาก ตู้MDB มีหลักการทำงานโดยจะรับกระแสไฟฟ้าจากหม้อแปลงแล้วจ่ายไปยังตู้ไฟฟ้าย่อยภายในโรงงาน  จึงเปรียบเสมือนกับหัวใจของโรงงานมีหน้าที่ส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าไปตามส่วนต่างๆของโรงงาน สำหรับการออกแบบตู้ MDB จะออกแบบจากกำลังการใช้กระแสไฟฟ้าจริงของโรงงานนั้นๆ จะมีส่วนเพิ่มเติมก็คือกำลังกระแสไฟฟ้าภายในอนาคต ทุกโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการขยายโรงงาน และมีการขยากกำลังการผลิต ภาระทางไฟฟ้า การใช้งานต่างๆก็จะมีเพิ่มขึ้น เพราะฉนั้นในการออกแบบแต่ละครั้งจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงภาระการใช้ไฟฟ้าในอนาคตด้วย

สำหรับส่วนประกอบที่สำคัญของ ตู้MDB จะประกอบไปด้วย


ตู้-MDB

1.โครงตู้สวิตช์บอร์ด (Enclosure)  ทํามาจากแผ่นโลหะนำมาขึ้นรูปและประกอบเป็นโครงตู้ ตู้MDB แต่ละตู้จะมีส่วนที่แตกต่างกัน เช่นตัวบานประตูซึ่งอาจเปิดได้เฉพาะด้านหน้า หรือเปิดได้ทุกด้าน ทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบ และการใช้งานของแต่ละโรงงาน ตู้MDB จะมีคุณสมบัติแยกย่อยได้หลายประเภทแต่จะมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้
คุณสมบัติที่สําคัญของตู้ MDB

1.คุณสมบัติทางกล คือรับแรงทางกลจากภายนอกได้เพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งภาวะปกติ และไม่ปกติได้ 
2.คุณสมบัติทางความร้อนคือทนความร้อนจากสภาพแวดล้อม ความผิดปกติในระบบและ อาร์กจากการลัดวงจรได้
3.คุณสมบัติต่อการกัดกร่อน คือสามารถทนการกัดกร่อนจากความชื้นและสารเคมีได้ นอกจากนี้ โครงตู้ยังทําหน้าที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ a.ป้องกันไม่ให้ผู้อยู่ใกล้สวิทช์บอร์ดสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟ b.ป้องกันอุปกรณ์ภายในตู้จากสิ่งต่าง ๆ ภายนอกเช่น น้ำ วัตถุแข็ง สัตว์เลื้อยคลาน เป็นต้น c.ป้องกันอันตรายจากการอาร์กที่รุนแรงจนชิ้นส่วนอุปกรณ์อาจหลุดกระเด็นออกมา

ตู้-MDB

2.บัสบาร์ ( Busbar ) ค่าว่า บัสบาร์ ( Busbar ) ทางวิศกรรมไฟฟ้าให้ นิยาม คำว่า บัส ( BUS ) ใช้เพื่ออธิบายจุดรวมของวงจรจำนวนมาก ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึงจุดรวมที่มีวงจรไฟฟ้าจ่ายเข้าจำนวนน้อยและมีวงจร ไฟฟ้าจ่ายออกจำนวนมาก สถานีไฟฟ้าหรือแผงสวิตซ์จ่ายไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าปัจจุบันจะต้องสามารถรับและ จ่ายกระแสไฟฟ้าได้ ปริมาณมากกระแสไฟฟ้าปริมาณมากจะทำให้เกิดแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagnetic Force ) ขึ้นอย่างมหาศาล บัสบาร์ก็เหมือนอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ จะต้องสามารถทนต่อแรงเหล่านี้ได้ ดังนั้นโลหะที่จะใช้เป็นบัสบาร์จะต้องมีคุณสมบัติ ทางไฟฟ้า ทางกลที่ดี และสามารถทำงานได้ที่อุณหภิที่กำหนดให้

โลหะที่จะนำมาใช้ป็นบัสบาร์ ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
มีความต้านทานต่ำ ความแข็งแรงทางกลสูงในด้านแรงดึง แรงอัดและแรงฉีก ความต้านทานต่อ Fatigue Failure สูง ความต้านทานของ Surface Film ต่ำ การตัดต่อหรือดัด ทำได้สะดวก ความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง 

คำว่า แท่ง ( Bar ) หมายถึง เส้นที่มีภาคตัดขวางสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความหนาตั้งแต่ 0.5 มิลลิเมตรขึ้นไป และมีความกว้าง ไม่เกิน 160 มิลลิเมตร บัสบาร์ มีทั้งชนิดที่ตัวนําทําด้วยทองแดงและอลูมิเนียม รูปร่างของบัสบาร์ที่นิยมใช้กันทั่วไปเป็นแบบ Flat คือ มีพื้นที่หน้าตัด เป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากติดตั้งง่าย ระบายความร้อนดี แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.บัสบาร์แบบเปลือย 2.บัสบาร์แบบทาสี 

ข้อแนะนําในการใช้บัสบาร์ บัสบาร์ควรวางในแนวดิ่งจึงจะระบายความร้อนได้ดี บัสบาร์แบบ Flat ควรขนานกันไม่เกิน 4 แท่ง ถ้ามากกว่านี้จะมีปัญหาเรื่อง Skin Effect บัสบาร์แบบทาสี สีที่ใช์ทาเคลือบบัสบาร์ ควรมีสัมประสิทธิ์การระบายความร้อนสูงประมาณ 0.9 

บัสบาร์แบบทาสีนํากระแสได้สูงกว่าบัสบาร์แบบเปลือย กําหนดให้ใช้สีแดง เหลือง น้ำเงิน สําหรับเฟส R, Y, B ตามลําดับ การเรียงเฟสในสวิทช์บอร์ด (R, Y, B) ให้เรียงจากด้านหน้าไปยังด้านหลังตู้ จากบนลงล่าง หรือจาก ซ้ายไปขวา การเรียงเฟสลักษณะอื่นอนุญาตเฉพาะการเชื่อมต่อกับระบบที่มีอยู่แล้ว แต่ต้องทําเครื่องหมาย ให้เห็นชัดเจน

ตู้-MDB

3. เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) สําหรับ MDB แรงต่ำ เบรกเกอร์ที่ใช้ทั่วไป มี 2 แบบ คือ Air Circuit Breaker : ใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในวงจรที่ใช้กระแสสูง เป็น เบรคเกอร์ที่ใช้กับแรงดันสูงตั้งแต่ 35-150 KA. โครงสร้างทั่วไปทำด้วยเหล็กมีช่องดับอาร์ก (Arcing chamber) ที่ใหญ่โตแข็งแรงเพื่อให้สามารถรับกระแสลัดวงจรจำนวนมากได้ Air CB. ที่มีขายในท้องตลาด มักใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจจับ และวิเคราะห์กระแสเพื่อสั่งปลดวงจร Mold Case Circuit Breaker : ใช้กับวงจรย่อยหรือใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในตู้ MDB ขนาดเล็ก หมายถึง breaker ที่ถูกห่อหุ้มมิดชิดโดย mold 2 ส่วน มักทำด้วย phenolic ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าสามารถทนแรงดันใช้งานได้ breaker เบรกเกอร์แบบนี้  มีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ ทำหน้าที่เป็นสวิทซ์เปิด-ปิดด้วยมือ และเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไหลเกิน หรือเกิดลัดวงจร โดย breaker เบรกเกอร์จะอยู่ในภาวะ trip ซึ่งอยู่กึ่งกลาง ระหว่าง ตำแหน่ง ON และ OFF เราสามารถ reset ใหม่ได้โดย กดคันโยกให้อยู่ ในตำแหน่ง OFF เสียก่อน แล้วค่อยโยกไปตำแหน่ง ON การทำงานแบบนี้เรียกว่า quick make , quick break 

ตู้-MDB

4. มิเตอร์วัดไฟฟ้า (Meter) มิเตอร์วัดพื้นฐานที่ใช้ในตู้ MDB ทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ มิตเตอร์แบบเข็มหรือเรียกอีกอย่างว่ามิตเตอร์ อนาล็อก และ มิเตอร์แบบดิจิตอล จะใช้ในการอ่าค่า โวลต์และแอมป์ ซึ่งถ้าเป็นมิเตอร์แบบเข็มจะมีการใช้งานร่วมใช้งานร่วมกับ Selector Switch เพื่อวัดแรงดันหรือกระแสในแต่ละเฟส พิกัดแรงดันของโวลต์มิเตอร์คือ 0-500V. ส่วนพิกัดกระแสของแอมมิเตอร์จะ ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของ Current Transformer เช่น 100/5A. เป็นต้น สำหรับมิเตอร์แบบดิจิตอลจะสามารถแสดงค่าของโวลต์และแอมป์เป็นตัวเลข ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ประเภท ของแต่ละรุ่น สําหรับตู้ MDB ขนาดใหญ่อาจมีมิเตอร์ประเภทอื่นๆ เช่น P.F. Meter, Watt Meter หรือ Var Meter เพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับการออกแบบตู้ บางตู้ก็อาจติดตั้ง P.F. Controller เพื่อควบคุมค่า Power Factor อีกด้วย

ตู้-MDB 

5. อุปกรณ์อื่นๆ (Accessories) อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีในตู้ MDB ได้แก่ Current Transformer (CT) , Selector Switch , Pilot Lamp , Fuse , ฉนวนรองบัสบาร์

 

รับวายริ่งประกอบตู้คอนโทรล (Control Panel) (Main Distribution Board) (Distribution Board) (Load Center) และตู้ควบคุมอื่นๆตามต้องการ ทั้งงานเล็กงานใหญ่ ตรงตามคอนเซ็ป ราคาประหยัดคุยกันได้ ปรึกษาฟรี

เพิ่มเพื่อน